ถ้าวันนี้คุณมีเงินอยู่ในบัญชีธนาคาร แล้วปรากฏว่าข้อมูลบัญชีธนาคารของคุณ ได้ถูกนำส่งกรมสรรพากรไปเรียบร้อยแล้ว อาจจะย้อนกลับมาสร้างปัญหาให้คุณได้ เพราะข้อมูลต่างๆที่เกิดขึ้นจะเก็บไว้ใช้ในระบบของทางกรมสรรพากร 10 ปี
สมุมติวันนี้น้องฟ้าใสมีเงินเข้าบัญชีธนาคารเงินฝากในปี 2563 ของธนาคารสีม่วงมากถึง 450 ครั้งและเป็นเงินถึง 15 ล้านบาท
ข้อมูลจำนวนดังกล่าวจะถูกนำส่งให้กับทางกรมสรรพากรภายในมีนาคมของปี 64 และข้อมูลดังกล่าวนี้ จะถูกเก็บเอาไว้ถึงปี 2573 (มากถึง10ปี)
วิธีเช็คมีดังนี้
ข้อ 1) ถ้ามีเงินเข้าในบัญชีธนาคารเดียวกันถึง 3000 ขึ้นไปไม่ได้ดูจำนวนเงิน ก็จะถูกนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร สมมุติมีเข้าธนาคารสีม่วงถึง 3,500 ครั้งแต่ยอดเงินเพียงแค่ 1,500,000 บาทก็จะถูกนำส่งไปเช่นกัน
ข้อ 2) ถ้าไม่ถึง 3000 ครั้งก็มาดูว่าถึง 400 ครั้งและเกิน 2 ล้านบาทขึ้นไปหรือเปล่า ถ้าครบทั้ง 2 องค์ประกอบก็จะถูกนำส่งสมมุติว่ามีเงินเข้าบัญชีธนาคารสีม่วงจำนวน 350 ครั้ง ยอดเงินจะเป็น 10 ล้านอย่างนี้ไม่ถูกนำส่ง
และถ้าสมมุติว่ามีเงินเข้าบัญชีธนาคารสีชมพู 550 ครั้ง ยอดเงิน 15 ล้าน ครบทั้ง 2 องค์ประกอบก็จะถูกนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร
ข้อ 3) 5 อย่างที่จะถูกนำส่ง
1 เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
2 ชื่อ – สกุล หรือชื่อของนิติบุคคล
3 จำนวนครั้งที่รับเข้า
4 ยอดเงินที่รับมาทั้งหมดทั้งปี
5 เลขบัญชีธนาคารที่รับเข้ามา
เพราะฉะนั้นให้คุณกลับไปเช็คดูว่าวันนี้ ข้อมูลเงินในบัญชีธนาคารของคุณ ได้ถูกนำส่งไปเก็บในระบบของทางกรมสรรพากรแล้วหรือยัง เพราะมันอาจจะกลับมาสร้างปัญหาให้กับนักธุรกิจไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลก็ตาม เพราะบางครั้งคุณอาจจะไม่ได้อยู่ในระบบภาษี แต่ว่าฐานข้อมูลถูกเก็บไปแล้ว เขาสามารถเอากลับมาใช้ตรวจสอบภาษีย้อนหลังกับนักธุรกิจทุกคนได้
และที่สำคัญ เวลาที่สรรพากรมาประเมินภาษีย้อนหลังมันจะไม่มีแค่คำว่าภาษี เพราะจะมีเรื่องของภาษี เบี้ยปรับ 1 ถึง 2 เท่าและเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือน อันนี้คือสิ่งที่คุณต้องระมัดระวังคะ